วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก
ประเพณี ปอยส่างลอง
ประเพณี ปอยส่างลอง หรือที่เรียกว่า“งานบวชลูกแก้ว”เป็นงานประเพณีประจำของชาวไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งได้มีการจัดสืบทอดกันมายาวนาน คำว่า ปอย แปลว่า งาน ซึ่งหมายถึง งานเทศกาล งานรื่นเริง งานมงคลต่าง ๆ ส่าง แปลว่า พระ-เณร และ ลอง มาจาก คำว่า อะลอง แปลว่า กษัตริย์ ราชา เกี่ยวกับเจ้าแผ่นดิน เมื่อรวมกันก็หมายถึง งานเตรียมบวชเป็นพระเณรของเด็กที่แต่งดาเป็นกษัตริย์หรือราชานั่นเอง
โดย งาน “ปอยส่างลอง” นี้ จะนิยมจัดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวบ้านมีเวลาว่างเว้น หลังจากเก็บเกี่ยวผืชผลเกษตรในไร่นาแล้วเสร็จ ประกอบกับเป็นช่วงปิดเทอมปิดภาคเรียนของเด็กๆ สาเหตุที่ชาวไทยใหญ่ได้จัดงานนี้ก็เพราะต้องการให้บุตรหลานได้มีโอกาสบรรพชา เป็นพระภิกษุสามเณรเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่าชายชาวไทยใหญ่ที่นับถือพระพุทธศาสนา ล้วนจะได้ผ่านการบวชเป็นพระหรือสามเณรจากงานประเพณีปอยส่างลองนี้กันมาแทบ ทั้งสิ้น
นับแต่อดีตมา พม่ามีงานประเพณีของแต่ละเดือนในรอบปี เรียกว่า แซะนะล่ะหย่าตี่บะแว หรือประเพณีสิบสองเดือน ในยุคราชวงศ์ของพม่ามีการกำหนดให้งานนี้เป็นพระราชพิธี แม้ว่าในปัจจุบันพม่าจะยังคงสืบทอดงานประเพณีสิบสองเดือนไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง
สิ่งที่ควรระมัดระวังในการท่องเที่ยวพม่า มีดังนี้คือ
1.เครื่องแต่งกาย ศาสนสถานในพม่าทุกแห่ง ห้ามสวมกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้นเข้าไป สุภาพสตรีสวมกางเกงขายาวได้ บางแห่งจะมีบริการเช่าผ้าถุงหรือโสร่ง สวมทับกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น รวมทั้งยังต้องถอดหมวก ถอดแว่นดำก่อนที่จะเข้าไปด้วย
2.รองเท้า ทุกคนต้องถอดรองเท้าทุกชนิดก่อนเข้าเขตศาสนสถาน ตั้งแต่รั้วด้านนอก ถุงเท้า ถุงน่องก็ห้ามใส่เข้าไป ต้องเดินเท้าเปล่า และเป็นธรรมเนียมที่เคร่งครัดมากแต่สมัยโบราณ หากฝ่าฝืนชาวพม่าจะเข้ามาตักเตือนด้วยความไม่พอใจครับ
3.การถ่ายรูป วีดีโอ บางแห่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียม บางแห่งห้ามถ่าย เช่น พิพิธภัณฑ์ย่างกุ้ง ต้องฝากกล้องเอาไว้กับเจ้าหน้าที่ก่อนจะเข้าไป
4.ศาสนสถานบางแห่งอาจห้ามสุภาพสตรีเข้าไปในเขตหวงห้าม เช่น ห้ามขึ้นไปปิดทองที่องค์พระมหามุนี มัณฑะเลย์ หรือที่องค์พระธาตุอินทร์แขวน(ไจก์ทิโย) หรือที่เขตห้ามเข้าองค์พระมหาเจดีย์ชเวดากองและองค์พระเจดีย์ชเวซิกอง
5.เงินสด โดยทั่วไปจะไม่รับเงินบาทไทย ให้แลกกับไกด์ท้องถิ่นหรือบริษัททัวร์ได้ และถ้าแลกกับธนาคารจะได้อัตราทางการ แพงกว่าที่แลกกับบริษัททัวร์ หรือร้านค้าใหญ่มากหลายเท่าตัว ข้อควรระวัง อย่าแลกเงินกับชาวบ้านที่เข้ามาขอแลก เพราะอาจจะได้รับเงินปลอม เงินที่ยกเลิกไปแล้ว และถูกตำรวจจับอีก
6.เครื่องประดับ ของมีค่าต่างๆควรติดตัวไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพราะจะเกิดความยุ่งยากในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเวลา เข้าเมือง และต้องแสดงว่าอยู่ครบเวลาจะเดินทางกลับจากพม่า หากอยู่ไม่ครบต้องเสียภาษีทันที เพราะศุลกากรพม่าจะถือว่านำไปขายต่อให้กับคนพม่า นอกจากนี้ยังเป็นภาระในการดูแลรักษา ล่อตาล่อใจมิจฉาชีพอีกด้วย
7.ยารักษาโรค ควรนำไปให้พร้อมและเพียงพอตามระยะเวลาเดินทาง เพราะในพม่า การแพทย์ สุขอนามัย และยารักษาโรค ยังขาดแคลนและไม่ทันสมัย
8.วัตถุโบราณ (Antique) บาง ประเภทเป็นสิ่งต้องห้ามจำหน่ายและนำออกนอกประเทศ ควรตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ และถ้าซื้อต้องมีใบเสร็จและใบอนุญาตนำออกอย่างถูกต้องจากทางร้านค้า รวมทั้งสินค้าอัญมณีบางชนิดด้วย หากไม่แน่ใจ ไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญ ควรงดเว้นการซื้อ
9.ระบบการจราจรในพม่ากำหนดให้ขับรถชิดเลนขวาตรงข้ามกับไทย เพราะฉะนั้นเวลาข้ามถนนต้องดูให้ดีและรอบคอบ
10.หญิงบริการ พม่าเป็นประเทศสังคมนิยมปกครองโดยรัฐบาลทหาร ทั้งยังมั่งคั่งไปด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวบ้านผู้รักสงบและสันโดษ จึงเป็นการไม่เหมาะที่จะถามหาหญิงบริการ เพราะกฎหมายพม่ารุนแรงจับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
cultureofaec.wordpress.com
No comments:
Post a Comment