Wednesday, January 16, 2019

พม่าเมืองน่าอยู่

ตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง[1]
อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6] ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์โกนบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1948 ช่วงต้นปกครองแบบชาติประชาธิปไตย และหลังรัฐประหารใน ค.ศ. 1962 เป็นการปกครองแบบเผด็จการทหาร แม้เผด็จการทหารสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2011 แต่ผู้นำพรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังเป็นอดีตนายทหาร
ประเทศพม่าอยู่ภายใต้การต่อสู้ชาติพันธุ์ที่รุนแรง กลุ่มชาติพันธุ์มากมายของพม่าเกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองที่ดำเนินอยู่ยาวที่สุดสงครามหนึ่งของโลก ระหว่างช่วงนี้ สหประชาชาติและอีกหลายองค์การรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องภายในประเทศ[7][8][9] ใน ค.ศ. 2011 มีการยุบคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองอย่างเป็นทางการหลังการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2010 และมีการตั้งรัฐบาลในนามพลเรือน แต่อดีตผู้นำทหารยังมีอำนาจภายในประเทศ กองทัพพม่าดำเนินการสละการควบคุมรัฐบาล ร่วมถึงการปล่อยตัวออง ซาน ซูจีและนักโทษทางการเมือง มีการปรับปรุงสิทธิมนุษยชนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนนำไปสู่การผ่อนปรนการลงโทษทางการค้าและเศรษฐกิจอื่นๆ[10][11] ทว่ายังมีการวิจารณ์การปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาของรัฐบาลและการสนองต่อการปะทะกันทางศาสนา[12][13][14]
ประเทศพม่าอุดมด้วยหยก อัญมณี น้ำมัน แก๊สธรรมชาติและทรัพยากรแร่อื่นๆ ใน ค.ศ. 2013 จีดีพี (ราคาตลาด) อยู่ที่ 56,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีดีพี (อำนาจซื้อ) อยู่ที่ 221,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] ช่องว่างรายได้ของประเทศพม่ากว้างที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เพราะเศรษฐกิจสัดส่วนใหญ่ถูกผู้สนับสนุนอดีตรัฐบาลทหารควบคุม[15][16] ใน ค.ศ. 2014 จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ประเทศพม่ามีระดับการพัฒนามนุษย์ต่ำ โดยจัดอยู่อันดับที่ 148 จาก 188 ประเทศ[17]
Image result for พม่า

th.wikipedia.org